ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา

นับตั้งแต่ได้รับลิขสิทธิ์ในการผลิตและจัดจำหน่ายที่นอนซีลี่อย่างถูกต้อง บริษัท ยัสปาล แอนด์ ซันส์ จำกัด ได้สานต่อปณิธานของแบรนด์ซีลี่ ในการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อคงไว้ซึ่งการรักษาระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะได้รับแต่ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงสุดจากแบรนด์ซีลี่

ในปี พ.ศ. 2557 ซีลี่ได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดสอบที่นอน และแผนกวิจัยและพัฒนาที่นอนขึ้นมาเป็นที่แรกในเอเชีย เพื่อทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่นอนให้คงไว้ซึ่งมาตรฐาน โดยได้นำเอามาตรฐานการทดสอบที่นอนของประเทศสหรัฐอเมริกา หมายเลขมาตรฐาน ASTM-1566 มาใช้อ้างอิงในการทดสอบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คุณว่าจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงสุด โดยแบ่งการทดสอบออกเป็น
  • การทดสอบโครงสร้างของที่นอนด้วย Mattress Rollator โดยใช้ลูกกลิ้งที่มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัมเพื่อจำลองสภาวะความคงทนของที่นอนภายในระยะเวลา 10 ปี และการทดสอบด้วยเครื่อง Compression ที่มีแรงกดถึง 110 กิโลกรัม สมมุติลักษณะการนอน-นั่งบนที่นอนจุดเดิมซ้ำๆเป็นจำนวน 100,000 ครั้ง เพื่อทดสอบความแข็งแรงบริเวณขอบที่นอนและการลาดยุบตัวของที่นอน
  • การทดสอบประสิทธิภาพของวัตถุดิบด้วย Martindale Abrasion and Pilling Tester เป็นการทดสอบความทนทาน อายุการใช้งานของผ้าบุที่นอน โดยการนำผ้ามาขัดถูไปมา เพื่อหาจำนวนรอบที่ผ้าจะฉีกขาดเสียหาย
นอกจากนี้ ซีลี่ยังได้ก่อตั้งแผนกวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่นอน เพื่อพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อการนอนของซีลี่ให้มีความโดดเด่น ทันสมัย และตอบโจทย์ต่อพฤติกรรมการนอนที่แตกต่างอย่างมีประสิทธิภาพ คุณจึงมั่นใจในคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการได้นอนหลับเต็มอิ่มบนผลิตภัณฑ์มาตรฐานระดับสากล แบรนด์ซีลี่

Orthopedic
Advisory Board

ในปี พ.ศ.2549 ซีลี่ แบรนด์ที่นอนคุณภาพระดับโลก ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ และกระดูกสันหลัง เพื่อวิจัย ค้นคว้าและพัฒนาที่นอนที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคลได้อย่างตรงจุด เพื่อให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนและฟื้นฟูอย่างเต็มที่
โดย ดร. โรเบิร์ต จี แอดดิสัน ประธานที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์และกระดูกสันหลัง
และเป็นผู้ออกแบบระบบที่นอนของซีลี่ ได้ร่วมมือกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านสรีรศาสตร์จากสาขาต่างๆ
  • ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการรองรับสรีระอย่างถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์
    เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายให้ได้รับการพักผ่อน
    อย่างเต็มที่
  • ในการทำความเข้าใจธรรมชาติของการนอนหลับ และขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น
  • ในด้านการศึกษา ค้นคว้าและ วิจัยศาสตร์ที่เกี่ยวกับการนอนหลับ
และได้รับความร่วมมือจากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ และกระดูกสันหลังจากสาขาวิชาต่างๆ อาทิ คณะศัลยแพทย์กระดูก นักวิจัยและนักบำบัด เป็นต้น

Members of the Orthopedic Advisory Board

ศาตราจารย์คลินิกทางด้านศัลยกรรมกระดูก การรักษาทางกายภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ผู้อำนวยการแพทย์และหัวหน้าทีมแพทย์ผ่าตัดแห่งสถาบันฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย ผู้ก่อตั้งและเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของสถาบันศึกษาเฉพาะทางด้านความเจ็บปวด และยังเป็นสมาชิกก่อตั้งและอดีตประธานสถาบันการศึกษาทางด้านความเจ็บปวดแห่งอเมริกา
ดร. โรเบิร์ต จี แอดดิสัน
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยกระดูกแห่งมหาวิทยาลัย เวคฟอร์เรสต์ ประสบการณ์ด้านการให้คำปรึกษาแนะแนวทางเกี่ยวกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ภายในห้องปฏิบัติการประสบการณด้านการปลูกถ่ายกระดูกไขสันหลังทางการแพทย์เป็นระยะเวลา7 ปี และด้านปฏิบัติการทางการวิจัยวิทยาศาสตร์
ดร. โทมัส แอล สมิทธ์
ศาตราจารย์ทางด้านศัลยกรรมกระดูกและทีมแพทย์ของศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊ค ประธานชมรมศัลยแพทย์กระดูกแห่งสหรัฐอเมริกา สาขาวิชาเวชศาสตร์การกีฬา ผู้อำนวยการคณะผู้บริหารงานด้านศัลยกรรมกระดูก และอดีตประธานศูนย์ศัลยกรรมกระดูกแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา
ดร. วิลเลียม อี แกร์เร็ต
ประธานคณะศัลยแพทย์ทางด้านกระดูกแห่งมหาวิทยาลัย เวค
ฟอร์เรสต์ สมาชิกคณะศัลยกรรมทางด้านกระดูกสันหลังแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้เขียนบทความต่างๆมากมายเกี่ยวกับศัลยกรรมกระดูกการส่องกล้องในข้อกระดูก และผู้บรรยายตามมหาวิทยาลัยต่างๆ
ดร. แกรี่ จี เพอร์ลิ่ง

การจัดวางสรีระที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ โดยความร่วมมือของคณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางด้านสรีรศาสตร์ และกระดูกสันหลังของซีลี่ ที่ได้ทำการวิจัยและค้นพบข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดวางสรีระให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ ดังนี้
  • ยิ่งที่นอนให้การรองรับน้ำหนักได้มากเท่าไหร่ ยิ่งมีการสร้างจุดรับแรงต้านมากเท่านั้น
  • ยิ่งที่นอนมีการลดแรงต้านมากเท่าไหร่ ก็จะได้รับการรองรับที่ดีมากขึ้น
  • เพื่อลดการพลิกตัวไปมา อันเนื่องมาจากแรงกดทับของสรีระร่างกายบนที่นอน
    จึงควรเลือกใช้ที่นอนที่ให้การรองรับที่สมดุลกับสรีระแผ่นหลัง เพื่อลดแรงกดทับ